file_5984x4000_000045 copyการอภิปรายบนเวทีและนิทรรศการ “มุมมองระหว่างปารีสและกรุงเทพฯ : โครงการแนวใหม่สำหรับเมืองพิเศษ”

จัดขึ้นโดย :
สถานทูตฝรั่งเศสในประเทศไทย, สมาคมฝรั่งเศสกรุงเทพ, สถาบันวิจัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ร่วมสมัย (IRASEC), คณะสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC).

งานนี้ประกอบด้วยสี่กิจกรรม ดังนี้

1. นิทรรศการ “มุมมองระหว่างปารีสและกรุงเทพฯ :โครงการแนวใหม่สำหรับเมืองพิเศษ” ตั้งแต่วันที่ 16 ถึงวันที่ 27 พฤศจิกายน ที่แกลเลอรี่สมาคมฝรั่งเศสกรุงเทพ จะมีงานแนะนำงานนิทรรศการในวันที่ 26 พฤศจิกายน เวลา 18.00 น.
2. นิทรรศการงานประติมากรรม “เมืองวิจิตร” วันที่ 12 พฤศจิกายน ถึง 12 ธันวาคม ที่่บริเวณด้านนอกตึกสมาคมฝรั่งเศสกรุงเทพ พิธีเปิดจะมีขึ้นในวันที่ 26 พฤศจิกายน เวลา 18.00 น.
3. การอภิปรายบนเวที: “มุมมองระหว่างปารีสและกรุงเทพฯ :โครงการแนวใหม่สำหรับเมืองพิเศษ” ที่ห้องออดิทอเรี่ยม สมาคมฝรั่งเศสกรุงเทพ วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน เวลา 19.30 น.
4. การประชุมวิชาการว่าด้วยเรื่องพลวัตใหม่ของเมืองในสองมหานครนี้ วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ด้วยปัจจุบันที่ประชากรโลกเกินกว่าครึ่งอาศัยอยู่ในเมือง เมืองจึงกลายเป็นพื้นที่แห่งการปะทะสังสรรค์ของกลุ่มคนที่แตกต่างทั้งทางเพศ วัย เชื้อชาติ ภาษา ชนชั้น สถานภาพ ตลอดจนวัฒนธรรม ค่านิยม ความเชื่อ ทัศนคติ ความรู้และความเชี่ยวชาญต่างๆ การเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนอย่างเข้มข้นระหว่างความหลากหลายเหล่านี้จึงนามาซึ่งความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม อันเป็นปัจจัยสาคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมรูปแบบใหม่ของเมือง

แต่ในขณะเดียวกัน ความหลากหลายก็แฝงนัยยะของความแตกต่างทางความคิด ความต้องการ และโครงการพัฒนาที่มักขัดแย้งกันอยู่เสมอ เมืองอีกนัยหนึ่งจึงเป็นพื้นที่แห่งการเผชิญหน้าและเจรจาต่อรองของกลุ่มคนต่างๆในสังคม การกีดกันคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งออกจากโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรของเมืองและผลประโยชน์จากการพัฒนาอย่างไม่เป็นธรรม มักนามาซึ่งความเหลื่อมล้า ที่มักลุกลามสู่วิกฤตทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองในที่สุด

ภายใต้ความท้าทายดังกล่าว “เมืองทั่วถึง” (inclusive cities) จึงกลายเป็นประเด็นถกเถียงสาคัญ ที่แม้ว่ายังเป็นแนวคิดที่มีความลื่นไหลและมีการอภิปรายจากหลายมุมมอง แต่สาระสาคัญคือการสร้างกระบวนการพัฒนาที่เปิดกว้างและตอบสนองต่อความต้องการของผู้คนที่หลากหลายในเมือง โดยไม่ละทิ้งกลุ่มคนใดในสังคมไว้เบื้องหลัง หรือจะกล่าวให้เจาะจงก็คือ การสร้างโอกาสให้คนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงสินค้าและบริการสาธารณะ (public goods/service) ได้อย่างเสมอภาค อาทิ พื้นที่โล่ง สวนสาธารณะ สถานีขนส่งมวลชน ตลอดจนสาธารณูปโภคทางปัญญา อันวางอยู่บนหลักการสิทธิมนุษยชนและสังคมประชาธิปไตย

การฟื้นฟูเมืองจึงเป็นโอกาสสาคัญในการสร้างเมืองทั่วถึง ด้วยการปรับเปลี่ยนพื้นที่เมืองที่มีความเสื่อมโทรมทั้งกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม สู่ย่านที่มีคุณภาพและความหมาย สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในระดับต่างๆ ของผู้คนในพื้นที่สาธารณะ ให้อยู่ร่วมกันและพึ่งพากันอย่างผสมกลมกลืน รวมทั้งสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจของคนทุกกลุ่ม -คาถามคือ เราจะทาความเข้าใจกับความซับซ้อน หลากหลาย ตลอดจนพลวัตของพื้นที่และกลุ่มคนต่างๆ ในเมือง และเชื่อมโยงสู่กระบวนการวางแผนและจัดการเมืองได้อย่างไร?

ขอเชิญทุกท่านร่วมกันถกเถียงและหาคาตอบในการอภิปรายสาธา รณะ << Grand Bangkok – Grand Paris: Urban Regeneration towards Inclusive Cities >> กับผู้บริหารเมือง นักเศรษฐศาสตร์ นักผังเมือง และสถาปนิกผังเมือง จากกรุงเทพมหานครและกรุงปารีส สองมหานครแห่งความหลากหลาย ผ่านโครงการฟื้นฟูเมือง “กรุงเทพฯ250” และ “กร็องปารี” (le Grand Paris Plan) ซึ่งล้วนมี “พื้นที่ริมแม่น้า” เป็นยุทธศาสตร์สาคัญที่จะสร้างให้เกิดเป็นพื้นที่ทั่วถึง (inclusive space) สาหรับทุกคน